วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติ
พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเริ่มมีการฝึกยุวชนทหารเพื่อผลิตทหารกองหนุน สนับสนุนการรบของกองทัพไทย กล่าวได้ว่าการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) มีต้นกำเนิดและแนวคิดมาจากยุวชนทหาร
พ.ศ. 2491 กิจการการศึกษาวิชาทหารได้เริ่มต้นขึ้นโดยมีการสถาปนากรมการรักษาดินแดน ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2491[2] เพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว ลงคำสั่งทหารที่ 54/2477 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 โดยแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น (ต่อมาแก้ไขโดย พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2500)[3]

Cquote1.svg
การสงครามในอนาคตนั้น พลเมืองทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย ย่อมจะต้องมีส่วนร่วมในสงครามด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายโครงสร้างของกองทัพ พร้อมกับพัฒนาระบบกำลังสำรองควบคู่กันไป
Cquote2.svg
พลโทหลวงชาตินักรบ (ศุข นักรบ)

พ.ศ. 2492 ได้เริ่มรับสมัครนักเรียนซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาตั้งแต่ชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 หรือชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนอาชีพ หรือเป็นนิสิตและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 [4] และทำการฝึกนศท.เป็นปีแรก โดยเริ่มในกรุงเทพมหานคร แล้วจึงกระจายไปตามหัวเมืองในต่างจังหวัด โดยดำเนินการฝึกเป็นเวลา 5 ปี
พ.ศ. 2497 ได้มีการตรากฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ส่งผลให้นักศึกษาหรือนิสิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ต้องเข้ารับราชการทหารในฐานะนายทหารสัญญาบัตรต่อไปอีกไม่เกิน 2 ปี จากนั้นให้ปลดเป็นนายทหารกองหนุนหรือรับราชการในฐานะนายทหารสัญญาบัตรประจำการต่อก็ได้[5] (ต่อมาได้มีการแก้ไขข้อบังคับฯ เพิ่มเติมส่งผลให้ปลดเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน)[6] และได้มีพิธีประดับยศเป็น ว่าที่ร้อยตรี สำหรับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2497[7]
พ.ศ. 2503 ได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 ส่งผลให้ถอนทะเบียนกองประจำการนักศึกษาหรือนิสิต เฉพาะที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 สำหรับนักศึกษาหรือนิสิตซึ่งรับราชการทหารตามมาตรา 7 และมาตรา 7 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 นั้นให้ปลดเป็นกองหนุนตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร[8]
พ.ศ. 2528 ได้เริ่มมีการฝึกนศท.หญิงเป็นครั้งแรก พร้อมกับการฝึกนศท.ชั้นปีที่ 4 ในส่วนของกองทัพเรือ
พ.ศ. 2544 สถาปนา หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) โดยการรวมกิจการของกรมการรักษาดินแดน และกรมการกำลังสำรองทหารบกเข้าด้วยกัน [9] ลงคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ 63/44 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2552 เปลี่ยนนามหน่วยเป็น หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) แทนชื่อเดิม หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) [10] โดย นรด. มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรองทั้งปวง กิจการสัสดี รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ[11] การฝึกนศท.จึงได้รับการอำนวยการจากหน่วยงานดังกล่าวจนถึงปัจจุบันการ                                            
    การคัดเลือก                     ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะมีการคัดเลือกนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหาร โดยผู้เข้ารับการคัดเลือกจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้[12]
  1. สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีผลการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า ตั้งแต่ 1.0 ขึ้นไป
  2. กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนเปิดทำการฝึกวิชาทหาร
  3. เป็นบุคคลชายหรือหญิงและมีสัญชาติไทย
  4. เป็นบุคคลผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปี และไม่เกิน 22 ปี นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และต้องได้รับคำยินยอมจาก บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง (กรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
  5. เป็นบุคคลที่ไม่พิการ ทุพพลภาพ หรือมีโรค [13]ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  6. เป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามการเป็นทหารในเฉพาะบางท้องที่ [14]ตามกฎหมาย ที่ออกตามความในมาตรา 13 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  7. เป็นบุคคลผู้มีน้ำหนัก ขนาดรอบตัว ขนาดส่วนสูง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยผู้สมัครต้องผ่านการทดสอบร่างกาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด[15]
  8. มีใบรับรองของสถานศึกษาว่ามีความประพฤติเรียบร้อย สมควรเข้ารับการฝึกวิชาทหาร
นอกจากนี้ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  1. เป็นบุคคลผู้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI: Body Mass Index)[16] อยู่ในเกณฑ์ปกติ และต้องไม่อยู่ในภาวะ โรคอ้วน ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย ตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป (BMI = น้ำหนักตัว (กก.) / ส่วนสูง² (ม.²) )
  2. ผ่านเกณฑ์ทดสอบสมรรถภาพการคัดเลือกนักศึกษาในปี พ.ศ. 2553 คือ วิ่ง 800 เมตร ใน 3 นาที 15 วินาที, ลุกนั่ง (ซิดอัป) 34 ครั้ง ใน 2 นาที , ดันพื้น (วิดพื้น) 22 ครั้ง ใน 2 นาที
    เป้าหมายของการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในแต่ละชั้นปี 
    • ชั้นปีที่ 1 และ 2 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารเบื้องต้นในระดับลูกแถว เพื่อให้บังเกิดความมีระเบียบวินัยเสริมสร้างบุคลิกลักษณะทหาร สามารถใช้อาวุธประจำกายและทำการยิงอย่างได้ผล
    • ชั้นปีที่ 3 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารในระดับผู้บังคับหมู่เพื่อให้มีความพร้อม ในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยในการปฏิบัติการรบในแบบ และการรบนอกแบบ
    • ชั้นปีที่ 4 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารในระดับรองผู้บังคับหมวดเพื่อให้มีความพร้อม ในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยในการปฏิบัติการรบในแบบ และการรบนอกแบบ
    • ชั้นปีที่ 5 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารในระดับผู้บังคับหมวดเพื่อให้มีความพร้อม ในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยในการปฏิบัติการรบในแบบ และการรบนอกแบบ
    การฝึกวิชาทหารดังกล่าว ถ้ามีการละเว้นการเรียน 1 ปีโดยไม่แจ้งลาพักเข้ารับการฝึก จะถือว่าสิ้นสุดสภาพความเป็นนักศึกษาวิชาทหารไม่สามารถเข้ารับการฝึกในชั้นปีต่อไปได้[17]นักศึกษาวิชาทหาร ในส่วนของกองทัพบก
    นักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพบกสามารถแบ่งออกได้ 5 เหล่าคือ
    1. เหล่าทหารราบ
    2. เหล่าทหารม้า
    3. เหล่าทหารปืนใหญ่
    4. เหล่าทหารสื่อสาร
    5. เหล่าทหารช่างนักศึกษาวิชาทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ ปีการศึกษา 2549 กรมกำลังพลทหารอากาศได้รับอนุมัติจากกองทัพอากาศ เปิดการฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 และจะเปิดการฝึกครบทั้ง 5 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2553 โดยกองทัพอากาศต้องการเน้นเฉพาะการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อเป็นกำลังพลสำรองในส่วนช่างเทคนิค เพื่อชดเชยกำลังหลักในส่วนดังกล่าวที่ขาดแคลน โดยจะคัดเลือกเฉพาะนักศึกษาวิชาทหารที่สถานศึกษามีที่ตั้งใกล้เคียงกับกองบัญชาการกองทัพอากาศกรุงเทพมหานคร และเปิดสอนในด้านช่างเทคนิค ซึ่งได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี โรงเรียนเซนต์จอห์นโปลิเทคนิค
      การฝึกภาคทฤษฎี
      การเรียนภาคทฤษฎีเริ่มทำการฝึกประมาณเดือนกรกฎาคม จนถึง เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ที่โรงเรียนจ่าอากาศ
      การฝึกภาคสนาม
      • นศท.ชั้นปีที่ 1 ฝึกภาคสนามที่โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
      • นศท.ชั้นปีที่ 2 ฝึกภาคสนามที่ กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี
      • นศท.ชั้นปีที่ 3 ฝึกภาคสนามที่ กองบิน 4 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
      • นศท.ชั้นปีที่ 4 และ นศท. ชั้นปีที่ 5 ฝึกภาคสนามที่ กองบิน 5 อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคิรีขันธ์
      การฝึกอบรมก่อนพิธีประดับยศ การอบรมใช้เวลา 5 วัน ดำเนิการโดยกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ
      วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 ได้มีพิธีประดับยศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรี ให้กับ นศท. ชั้นปีที่ 5 ในส่วนของกองทัพอากาศ รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2553[21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น